จิตกรรมปหรี เป็นจิตรกรรมที่เกิดขึ้นในดินแดนอินเดียทางภาคเหนือ คือพื้นที่เชิงเขาหิมาลัย ซึ่งมีพื้นที่เป็นภูเขา (ปหรี ในภาษาฮินดีหมายถึงภูเขา) ราวคริสต์ศตวรรษที่ 17-19 ซึ่งมีเมืองสำคัญที่ปรากฏงานจิตรกรรมปหรี เช่น พโชหะลี มันโกต นุระปุระ ชัมพะ กังครา คุเลระ มันทิ และครหวัล จิตรกรรมปหรีจะมีรูปแบบเป็นภาพเล็กๆ
ภาพในจิตรกรรมปหรีมักจะวาดเรื่องราววิถีชีวิตประจำวันของผู้คน และเรื่องราวเนื่องในศาสนาฮินดู มีความสัมพันธ์กับจิตรกรรมราชาสถานเรื่องรูปแบบและการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก และยังส่งอิทธิพลต่อจิตรกรรมราชปุตอีกด้วย
ในภายหลังจิตรกรรมปหรีจะมีพัฒนาการแยกออกเป็นสำนักต่างๆ ซึ่งจะนิยมวาดภาพพระกฤษณะกับนางราธา และเนื้อเรื่องตอนอื่นๆตามคัมภีร์คีตะโควินทะของชัยเทพ
จิตกรรมปหรีถือเป็นจิตรกรรมนอกแบบจากจิตรกรรมโมกุล เนื่องจากจิตรกรรมปหรีเป็นจิตรกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากบรรดาเจ้าผู้ครองนครต่างๆของราชปุตที่นับถือศาสนาฮินดู
สำนักของจิตรกรรมปหรีสามารถจำแนกได้ดังนี้
1. สำนักคุเลระ
2. สำนักกังครา
3. สำนักพโชหะลี
4. สำนักชัมพะ
5. สำนักครหวัล